อื่นๆ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547-2560

คำถาม-คำตอบ ราคามาตรฐานงบประมาณ

เปลี่ยนการแสดงผล

  1. หน้าหลัก   >  สำนักงบประมาณ   >  โฆษกสำนักงบประมาณ   >  ข่าวสารจากโฆษกสำนักงบประมาณ   >  เรื่อง “ข้อวิจารณ์ฐานะการเงินการคลังของประเทศ”   
เรื่อง “ข้อวิจารณ์ฐานะการเงินการคลังของประเทศ” 
ผู้เข้าชม : 578

เรื่อง “ข้อวิจารณ์ฐานะการเงินการคลังของประเทศ” 
ข้าพเจ้า นายบุญชู ประสพกิจถาวร / โฆษกสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี   
ขอรายงานผลการชี้แจงประเด็น คอลัมน์หมายเหตุประเทศไทย โดยลมเปลี่ยนทิศ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แสดงความเห็นว่าฐานะการเงินการคลังของประเทศที่ผ่านมา ๗ ปีกว่า ภายใต้การนำของ คสช.และรัฐบาลปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง

ผู้ชี้แจง : นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา /ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี 

สาระสำคัญ  
        
คอลัมน์หมายเหตุประเทศไทย โดยลมเปลี่ยนทิศ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แสดงความเห็นว่าฐานะการเงินการคลังของประเทศที่ผ่านมา ๗ ปีกว่า ภายใต้การนำของ คสช.และรัฐบาลปัจจุบันเริ่มมีความเสี่ยง โดยตั้งข้อสังเกต 
        ๑. งบประมาณปี ๒๕๖๕ ตั้งงบไว้ที่ ๓.๑ ล้านล้านบาท น้อยกว่างบปี ๒๕๖๔ ถึง ๑.๘๕ แสนล้านบาท เท่ากับว่าเศรษฐกิจไทยไม่เติบโตแล้วยังถอยหลัง งบลงทุนของประเทศน้อยกว่าเงินกู้ขาดดุลที่สูงถึง ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งมีงบลงทุนเพียง ๖๒๔,๐๐๐ ล้านบาท แล้วจะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศได้อย่างไร เพราะมีแต่หนี้ที่เพิ่มขึ้น
        ๒. ภาคเอกชนเริ่มไม่เชื่อถือตัวเลขหนี้ของรัฐบาล โดยเฉพาะสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่เห็นว่าเกินความเป็นจริง และยังมีหนี้ที่ไม่ผ่านงบประมาณและหนี้ที่ผ่านหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่ไม่มีการตรวจสอบ
        ๓. ตลอด ๗ ปีที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณไปแล้วกว่า ๒๐.๘๒ ล้านล้านบาท ถ้ารวมงบประมาณ ปี ๒๕๖๕ อีก ๓.๑ ล้านล้านบาท รวม ๘ ปี มีการใช้งบประมาณไปถึง ๒๓.๙๒ ล้านล้านบาท   แต่เหตุใดเศรษฐกิจกลับไม่ดีขึ้น ความเหลื่อมล้ำกลับกว้างขึ้น คนจนเพิ่มขึ้น 

สำนักงบประมาณขอเรียนชี้แจงดังนี้ 
        กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๓,๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ และ ๔ หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของกรอบวงเงินภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งวงเงินที่ลดลงมีปัจจัยสำคัญจากประมาณการรายได้ที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์โควิด–19 ทั้งในและต่างประเทศ โดยยังคงรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ 
​​​​​​​        ภายใต้กรอบวงเงิน ๓,๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นรายจ่ายลงทุนประมาณ ๖๒๔,๓๙๙.๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๑๔ ของวงเงินงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๕ แต่น้อยกว่าวงเงินขาดดุลงบประมาณ ซึ่งตั้งไว้ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นรายจ่ายประจำวงเงินสูง อาทิ ภาระค่าใช้จ่ายตามสิทธิ ตามกฎหมาย ตามข้อผูกพันและค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการทางสังคม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานเพื่อดูแลประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหนี้ ทั้งนี้ สำนักงบประมาณร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ได้เสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยมีแนวทางเพิ่มงบลงทุนจากแหล่งเงินทุนของประเทศนอกเหนือจากงบประมาณ ได้แก่ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) การลงทุนของหน่วยงานในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund ,TFF) และการใช้เงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงการพิจารณาความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน โดยให้หน่วยรับงบประมาณนำเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมมาใช้จ่ายในการดำเนินภารกิจของหน่วยงาน 

 

วันที่ประกาศ : 03 พ.ค. 2564 | 08:27 น.
วันที่แก้ไขล่าสุด : 03 พ.ค. 2564 | 08:52 น.
0 Shares